งานแห่เทียนพรรษา พุทธศาสนศรัทธาของชาวอุบลฯ

งานแห่เทียนพรรษา

งานแห่เทียนพรรษา พุทธศาสนศรัทธาของชาวอุบลฯ

หากจะกล่าวถึงวันเข้าพรรษาทีไร เราทุกคนจะต้องคิดถึงเทียนพรรษาก่อนเป็นอันดับแรกเลย เพราะเป็นเทียนที่ใช้ในการจุดเทียนเพื่อกิจวัตรต่างๆในการอยู่กุฏิของพระสงฆ์ ในทุกๆปีตามภูมิภาคต่างๆทั่วไทยก็มีจะงานแห่เทียนพรรษาเข้าวัดตามที่ต่างๆ แน่นอนว่าหนึ่งในงานแห่เทียนพรรษาที่ชาวไทยสายเที่ยวอยากจะไปเที่ยวและร่วมสัมผัสงานสักครั้งในชีวิตคือ งานแห่เทียนพรรษาของชาวจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง เป็นงานที่ทำให้เราอยากจะขับรถจากอุบล เพื่อมาสัมผัสกับขบวนแห่เทียนพรรษาสักครั้งนึง แต่ว่างานแห่เทียนพรรษาของที่นี่ มีอะไรดีบ้างละ ทำไมจะต้องมาที่นี่ด้วย เราลองมาอ่านข้อมูลกันดีกว่า

งานแห่เทียนพรรษา

ประวัติงานแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี

สมัยก่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ

ในช่วงปี พ.ศ. 2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

ใน พ.ศ. 2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์

ครั้น พ.ศ. 2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ

ประมาณปี พ.ศ. 2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬารมากที่สุดในประเทศไทย มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวางและททท.ได้จัดให้บรรจุลงในปฏิทินการท่องเที่ยว ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก

งานแห่เทียนพรรษา

งานแห่เทียนพรรษา มีอะไรดี?

 ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี เริ่มต้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2470 เป็นเวลาที่สืบทอดงานนับ 119 ปี ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของภาคอีสาน โดยแต่ละวัด จะมีช่างมาแกะสลักเทียนพรรษาเป็นรูปลวดลายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและข้อคิดทางธรรมะ จากนั้นจึงส่งขบวนต้นเทียนที่แกะสลักเข้าประกวด ซึ่งแบ่งต้นเทียนเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก แต่ก่อนถึงวันงาน จะเปิดโอกาสให้คนทั่วไปในพื้นที่รวมถึงนักท่องเที่ยวได้ เยือนชุมชนคนทำเทียน ที่อยู่ภายในคุ้มวัดต่างๆ เรียนรู้กระบวนการทำเทียนพรรษาอันงดงาม และหากเป็นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ผู้ที่สนใจสามารถลงมือแกะสลักลายบนเนื้อเทียน ก่อนนำไปประดับติดพิมพ์บนต้นเทียนพรรษา ตามแบบที่ช่างได้ขึ้นรูปไว้

งานแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา ปี 2563 นี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลง?

จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการจัดทำต้นเทียนและจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 119 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คณะกรรมการจัดงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีมติงดจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2563 แต่ประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานีเรียกร้องให้จัดงานดังกล่าวขึ้น และเพื่อให้มีการรักษาประเพณีแห่เทียนพรรษาไว้ให้คงอยู่จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้กำหนดจัดงาน “อนุรักษ์เทียนพรรษา มุทิตาหลวงปู่มั่น” โดยจังหวัดอุบลราชธานี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เทศบาลนครอุบลราชธานี กำหนดจัดงานวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00-22.00 น. ณ ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการจัดกิจกรรมภายในงาน ดังนี้

- โซนการจัดแสดงแสงเสียงเทียนพรรษา ประกอบด้วย เทียนพระราชทาน ต้นเทียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีที่ผ่านมา รวมจำนวน 5 ต้น ได้แก่ ประเภทแกะสลัก/ ติดพิมพ์ ขนาดใหญ่-กลาง จากวัดผาสุการาม, วัดเลียบ, วัดพลแพน และวัดมหาวนาราม โดยมีการจัดแสดงผสมผสานแสง เสียง และคำบรรยาย เพื่อสร้างความน่าสนใจ

- โซนนิทรรศการหลวงปู่มั่นและพุทธศาสนา แสดงถึงนิทรรศการเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของหลวงปู่มั่นครบรอบ 150 ปีชาตกาล ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาสันติภาพ และนิทรรศการพุทธประวัติ

- โซนการจัดแสดงภาพถ่ายขบวนแห่เทียนพรรษา ที่ได้รับรางวัลจากชมรมถ่ายภาพจังหวัดอุบลราชธานี

- โซนถนนสายเทียน มีกิจกรรม การหล่อเทียน ทำดอกผึ้ง การติดพิมพ์ และแกะสลักเทียน

- โซนต้นเทียนจำลองแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ 10 อำเภอ

- โซนการแสดงศิลปวัฒนธรรม การแสดงทางวัฒนธรรม ดนตรีพื้นเมือง หมอลำ ลูกทุ่ง และการแสดงร่วมสมัย

- โซนของดีเมืองอุบล การนำเสนอสินค้าจากชุมชนเพื่อมาสาธิตและจำหน่ายในงาน เช่น ซาลาเปา จากอำเภอพิบูลมังสาหาร, ปลาส้มสามพันโบก, ผ้ากาบบัว, เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว และเทียนหอม อำเภอเดชอุดม เป็นต้น

- การเปิดคุ้มวัดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมต้นเทียนในชุมชน รวมทั้งตลาดจำหน่ายสินค้าชุมชนให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเที่ยวชมรอบเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี

ปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับจ.อุบลราชธานี และเทศบาลนครอุบลราชธานี จัดงานแห่เทียนพรรษาในชื่องาน “อนุรักษ์เทียนพรรษา มุทิตาหลวงปู่มั่น” โดยที่แปลกใหม่กว่าทุกปีคือในปีนี้มีการนำเทคโนโลยี Live Map มาใช้ในงาน พร้อมจำกัดจำนวนผู้เข้าชมเป็นรอบ รอบละไม่เกิน 2,000 เพื่อตอบรับการท่องเที่ยวแบบ New Normal และมีมาตรการทางสาธารณสุขและ SHA อย่างเข้มข้น เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว

แล้วทั้งหมดนี้ก็คือประเพณีงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย และสำหรับใครก็ตามที่อยากเช่ารถอุบลราชธานี เพื่อจะไปร่วมงานแห่เทียนพรรษาในปีหน้า ก็ขอให้คิดถึง ECOCAR สาขาอุบลราชธานี ด้วยะนะครับ ที่นี่มีรถมากกว่า 600 คัน มากด้วยประสบการณ์กว่า 8 ปี รถทุกคันมีคุณภาพ อายุไม่ถึง 5 ปี มีทั้งแบบขับเองและพร้อมคนขับ สามารถขับไปเที่ยวทั่วไทยได้สบายๆเพราะเราเติมน้ำมันให้เต็มถัง มีพนักงานที่ดูแลตลอดการใช้งานรถของคุณ ราคาเริ่มต้นที่ 856 บาท/วันเองนะ

 

Visitors: 591,225