รถยนต์ไฟฟ้า ยนตรกรรมแห่งพลังงานสะอาดในอนาคต

รถยนต์ไฟฟ้า ยนตรกรรมแห่งพลังงานสะอาดในอนาคต

รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์นวัตกรรมใหม่ที่จะเปลี่ยนชีวิตผู้ใช้รถและสิ่งแวดล้อมในอนาคต ด้วยกระแสโลกที่ทุกคนให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อีกทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้โลกร้อนมากขึ้นด้วย จึงทำให้คนที่สนใจด้านเทคโนโลยี หันมามอง รถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มมากขึ้น และในปัจจุบันนี้ รถยนต์ไฟฟ้าได้ถูกพัฒนาไปไกลมากขึ้นทำให้เราได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นด้วย ด้วยความที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนเครื่องยนต์ ไม่ง้อน้ำมัน และใช้งานได้จริงในท้องถนนทั่วไป ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นกระแสการใช้พาหนะใหม่ใน พ.ศ.นี้

ประวัติของรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า (electric vehicle หรือ EV) คือรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆ และด้วยข้อดีของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้แรงบิดได้ทันทีทำให้รถพลังงานไฟฟ้ามีอัตราเร่งที่เรียบและรวดเร็ว

รถพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกๆ ปรากฏในคริสต์ทศวรรษ 1880 รถพลังงานไฟฟ้าเคยได้รับความนิยมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 20 จนกระทั่งความก้าวหน้าเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และการผลิตยานพาหนะเป็นจำนวนมาก จะทำให้การใช้ยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าลดน้อยลง วิกฤตพลังงานในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 ทำให้เกิดความสนใจในรถพลังงานไฟฟ้าในช่วงสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง แม้ว่า รถยนต์เหล่านั้นจะไม่สามารถแตะขั้นตลาดหลัก แต่สามารถทำได้ในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่ ค.ศ. 2008 การฟื้นฟูการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้เกิดขึ้น เนื่องจากแบตเตอรี่และการจัดการพลังงานมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก การขึ้นราคาของน้ำมัน และความต้องการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก รัฐบาลในหลายประเทศได้ออกเครดิตภาษี เงินสนับสนุน และสิ่งจูงใจอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการเปิดตัวและประยุกต์ใช้ในตลาดหลักของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ โดยขึ้นกับขนาดของแบตเตอรี่ และพิสัยของการใช้ไฟฟ้าล้วนของตัวรถยนต์

ข้อดีของรถพลังงานไฟฟ้าที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในรวมถึงการลดการใช้มลพิษทางอากาศ เพราะมันไม่ปล่อยไอเสียมาจากท่อไอเสีย ในหลายกรณี การลดแก๊สเรือนกระจกโดยรวมเป็นจำนวนมากและการปล่อยควัน (ขึ้นกับเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า) และใช้น้ำมันน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้คำนึงถึงราคาน้ำมันอ่อนตัวและอุปทานหยุดชะงักในหลายประเทศ แต่การประยุกต์ใช้รถพลังงานไฟฟ้าอย่างแพร่หลายต้องประสบกับอุปสรรคและข้อจำกัดมากมาย เช่น ราคาที่สูงกว่า ขาดโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชาร์จพลังงาน (นอกจากการชาร์จตามที่อยู่อาศัย) และความกังวลพิสัย (ความกลัวที่เกิดในคนขับว่าพลังงานไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่จะหมดก่อนจะถึงที่หมาย เนื่องจากพิสัยที่มีจำกัดในรถพลังงานไฟฟ้า)

จนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 การผลิตรถโดยสารและรถตู้พลังงานไฟฟ้าที่วิ่งบนทางด่วนได้แบบจำนวนมากในตลาดมีจำกัดอยู่เพียง 25 รุ่น ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ประเทศในยุโรปตะวันตก และจีน ยอดขายของรถพลังงานไฟฟ้าในปี ค.ศ. 2012 นำโดยญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 28% จากยอดขายทั่วโลก ตามด้วยสหรัฐอเมริกาที่ 26% จีน 16% ฝรั่งเศส 11% และนอร์เวย์ 7% รถพลังงานไฟฟ้าที่วิ่งบนทางด่วนได้ที่ขายดีที่สุดในโลกคือนิสสัน ลีฟ ออกจำหน่ายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 และขายใน 35 ประเทศ ด้วยยอดขายมากกว่า 130,000 คัน นับจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014

ทำไมต้องใช้รถยนต์ไฟฟ้า

1.ความเข้มงวดเรื่องสิ่งแวดล้อม
คนไทยอาจจะไม่มองเรื่องสิ่งแวดล้อมสำคัญเท่าคนต่างชาติ แต่ในต่างประเทศ รถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นจากความต้อวการในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมคนเมือง จุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้าคือการเป็นรถไร้ซึ่งไอเสีย มันไม่ปล่อยไอเสียจากตัวรถเลย แม้ว่าจะมีการถกเถียงว่าในแง่ความเป็นจริง รถยนต์ไฟฟ้าจะมีการสะสมมลภาวะที่โรงไฟฟ้ามากขึ้นในอนาคต เพราะเมื่อคนใช้เยอะ โรงไฟฟ้าก็ต้องผลิตไฟฟ้าเยอะขึ้นด้วย รวมถึงแบตเตอร์รี่ก็อาจะยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

2.ประหยัดกว่า
รู้หรือไม่ว่ารถยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังมาเหล่านี้มีความประหยัดมากกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันพอสมควร แน่นอนการใช้ไฟฟ้าทำให้มูลค่าพลังงานที่จะเสียต่อหน่วยขับเคลื่อนเปลี่ยนไปและน้อยลง เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ทุกบ้านมีอยู่แล้วในปัจจุบัน การมีรถไฟฟ้าก็เหมือนคุณมีเครื่องใช้ไฟฟ้าโตๆอีกเครื่อง หากนำมาเปรียบเทียบกับรถยนต์ใช้น้ำมันในปัจจุบันแล้ว ถือว่ามีค่าใช้จ่ายถูกกว่าในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

3.ซ่อมง่าย
ประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยในเวลานี้อย่างมากถึงรถยนต์ไฟฟ้า คือเรื่องของการซ่อมและดูแลง่าย เนื่องจากชิ้นส่วนกลไกขับเคลื่อนไม่หลากหลายเท่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีความซับซ้อนเชิงกลไกในระบบเครื่องยนต์มากกว่า รถยนต์ไฟฟ้ามีชิ้นส่วนหลักทางด้านระบบขับเคลื่อนเพียงตัวเดียวคือ มอเตอร์ไฟฟ้า กับแหล่งพลังงานหลัก แบตเตอร์รี่ของรถ การลดชิ้นส่วนหลายอย่างที่ไม่จำเป็น ทำให้รถซ่อมง่ายและดูแลง่ายมากขึ้น ผู้ใช้มีความกังวลในแง่การขับขี่น้อยลง แม้ว่าจะมีความทันสมัยมากขึ้นก็ตาม

4.ตอบสนองสมรรถนะ
ทราบหรือไม่ว่าประเด็นที่บริษัทรถยนต์ผลักดันให้รถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้น ก็เนื่องจากมันสามารถตอบสนองสมรรถนะในการขับขี่ได้มากกว่านั่นเอง หัวใจหลักสำคัญอยู่ที่มอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีแรงบิดมหาศาลตอบการขับเคลื่อนดีกว่าเครื่องยนต์ที่ต้องรอจังหวะรอรอบการทำงานช่วงกำลังเสียก่อน แต่มอเตอร์ไฟฟ้ามีแรงบิดหรือแรงหมุนในทันทีที่ได้รับไฟฟ้าไปผลักแกนมอเตอร์ให้หมุน หลักการดังกล่าวทำให้รถมอเตอร์ไฟฟ้าเกิดแรงบิดสูงสุดตั้งแต่เริ่มการทำงาน รถจะออกตัวได้เร็ว มีภาวะแบกน้ำหนักน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ เนื่องจากสามารถรีดแรงบิดสูงได้ทันที  ไม่ต้องรอรอบ และที่สำคัญ มอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ให้แรงบิดสูงมากกว่าเครื่องยนต์

5.ที่ไหนก็ชาร์จได้
ข้อเสียของรถยนต์น้ำมันข้อหนึ่งที่เราดูจะมองข้ามมันเป็นเส้นผมบังภูเขา คือว่ารถยนต์ปัจจุบัน จะเติมพลังงานต้องไปเฉพาะที่และเสียเวลาในการเติมพลังงาน แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงเล็กน้อย แต่ทุกวันนี้สำหรับหลายคน เวลามีค่ายิ่งกว่าทองเสียอีกจริงไหมครับ แต่สำหรับไฟฟ้ามีอยู่ทุกที่ และไม่ได้เป็นอันตรายจนสามารถระเบิดตูมตามได้ และการใช้ไฟฟ้าเราเริ่มชินกับพวกมันมากพอสมควร รถยนต์ไฟฟ้าจึงเหมือนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่วิ่งได้ คล้ายกับมือถือในปัจจุบัน คุณสามารถไปหาที่เสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าตรงไหนก็ได้ จะชาร์จที่บ้านก่อนออกไปทำงานก็ได้ หรือ ไปที่ทำงานจะไปเสียบชาร์จที่นั่นก็ได้ ตามห้างสรรพสินค้าก็ได้ การไร้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่เติมพลังงานจะทำให้ชีวิตสะดวกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถึงแม้ปัญหาสำคัญคือ รถยนต์ไฟฟ้าขับได้ระยะทางจำกัด แต่ถ้าใช้ในเมืองเป็นสำคัญน่าจะสะดวกพอสมควรเลยทีเดียว

6.พื้นฐานเทคโนโลยีอนาคต
บางคนบอกว่ารถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ใช่ตัวจริงเทคโนโลยีโลกอนาคต แต่ความจริงแล้วมันคือพื้นฐานของเทคโนโลยียานยนต์ทันสมัยที่สำคัญเลยทีเดียว แม้ว่าหลายคนจะมองว่า เทคโนโลยียานยนต์พลังงานไฮโดรเจนจะเป็นคำตอบในอนาคตมากกว่า หรืออนาคตรถใช้น้ำเติมแล้วขับได้ ทั้งหมดก็ยังคงต้องพึ่งพิงระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งเซลล์เชื้อเพลิง หรือพลังงานภายนอกจะถูกนำมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานขับเคลื่อนตัวรถในรูปแบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ดังนั้นยังไงเสียรถยนต์ไฟฟ้า จึงจะยังเป็นหัวใจสำคัญทางด้านเทคโนโลยียุคต่อไป หลังยุคเครื่องยนต์สันดาปภายใน

7.ต้นทุนผู้ผลิตถูกลง
แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า จะเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้ายุคใหม่ แต่หัวใจสำคัญข้อหนึ่งทีไม่สามารถปฏิเสธได้เลย คือว่า รถยนต์พลังงานไฟฟ้า มีชิ้นส่วนน้อยลงกว่ารถยนต์ใช้เครื่องยนต์ในปัจจุบัน การมีเพียงแบตเตอรี่ , มอเตอร์ไฟฟ้า และหน่วยควบคุมเพิ่มเติมเพียงชิ้นส่วนประกอบอื่นๆเท่านั้น  ทำให้รถยนต์ไฟฟ้า ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนของชิ้นส่วนมากเท่ารถปัจจุบัน เมื่อชิ้นส่วนน้อยลงต้นทุนการผลิตก็น้อยลงตามไปด้วย

รถยนต์ไฟฟ้าที่น่าใช้ในปี 2020

รถยนต์ไฟฟ้า

 

1. MG ZS EV
เริ่มต้นด้วยเจ้าแรกที่เปิดราคามาแบบ WOW กันเลยกับค่าตัว 1,190,000 บาท ทำให้ปลุกกระแสรถไฟฟ้า ได้เป็นอย่างดี  MG ZS EV โดดเด่นด้วยดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์ของ SUV ตามแบบฉบับของเอ็มจี สีตัวถังแบบพิเศษ “สีฟ้า Copenhagen Blue” ภายในห้องโดยสารตกแต่งโทนสีดำ กับหน้าจอสีระบบสัมผัสขนาด 8 นิ้วได้เพียงปลายนิ้ว และระบบปรับอากาศแบบดิจิตอลที่มาพร้อมระบบกรองอากาศที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 อีกทั้งยังโดดเด่นด้วยหลังคาซันรูฟแบบพาโนรามา (Panoramic Sunroof) NEW MG ZS EV เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ที่ให้ทั้งสมรรถนะ อัตราเร่งที่รวดเร็ว มอเตอร์ไฟฟ้า แบบ Permanent Magnet Synchronous Motor ที่ได้รับการพัฒนาให้ส่งกำลังได้ดีเยี่ยม และช่วยระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น พร้อมแบตเตอรี่ แบบลิเธี่ยม ไอออน (Lithium-ion) ความจุ 44.5 kWh โดยมีพละกำลังสูงสุด 110 กิโลวัตต์ (150 แรงม้า) แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตร สามารถเร่งจาก 0-50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้ด้วยระยะเวลาแค่ 3.1 วินาที และให้ระยะทางขับเคลื่อนสูงสุด 337 กิโลเมตร ต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง (ตามมาตรฐาน NEDC หรือมาตรฐานการทดสอบความประหยัดน้ำมันและมลพิษของยุโรป)

รถยนต์ไฟฟ้า

 

2. Nissan Leaf
อีกค่ายกับกับรถญี่ปุ่น นิสสัน ลีฟ ถือเป็นค่ายแรกที่นำเข้ามาจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการสำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า ลีฟ ได้รับความนิยมของคนทั่วโลก ที่สามารถทำยอดขายได้รวมกว่า 40,000 คันไปแล้ว เป็นรถนำเข้าทั้งคัน โดยทางบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัดโดยตรง เป็นรถยนต์ไฟฟ้าเจนเนอเรชั่นที่ 2 ที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า AC SYNCHRONOUS ขนาด 150 แรงม้า แรงบิด 320 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนความจุขนาด 40 กิโลวัตต์ชั่วโมง สามารถขับเคลื่อนไปได้ไกลสูงสุด 311 กิโลเมตร/การชาร์จ 1 ครั้ง ตั้งราคาจำหน่ายเอาไว้ที่ 1.99 ล้านบาท (นำเข้า CBU)  แต่ด้วยราคารถที่นำเข้าทั้งคันอาจทำให้สูงกว่าคู่แข่ง จึงทำให้ผู้บริโภคอาจจะต้องคิดหนักในการตัดสินใจ

รถยนต์ไฟฟ้า

 

3. FOMM ONE 
FOMM ONE  เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก กระทัดรัด แต่สามารถรองรับที่นั่งได้ถึง 4 ที่นั่ง  ถือเป็นรถขนาดเล็กกระทัดรัด  ประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยอัตราสิ้นเปลืองเพียง 30 สตางค์ต่อกิโลเมตร ด้วยการชาร์จในระบบไฟฟ้าภายในบ้านเพียง 6 – 8 ชั่วโมง และสามารถวิ่งได้ไกลถึง 160 กิโลเมตร ขนาดความยาว 2,585 มม. กว้าง 1,295 มม. และสูง 1,560 มม. รูปร่างหน้าตาจึงมีความน่ารักผสมผสานกับความทันสมัย ระบบขับเคลื่อนติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าในดุมล้อหน้าทั้ง 2 ข้าง ให้กำลังสูงสุด 13 แรงม้า ส่วนแรงบิดสูงถึง 560 นิวตันเมตร วิ่งได้เร็วสูงสุด 80 กม./ชม. ราคา 664,000บาท จุดเด่นสำหรับ fomm คือเป็นรถที่สามารถลอยน้ำได้

รถยนต์ไฟฟ้า

 

4. Audi e-tron
อาวดี้ ประเทศไทย สร้างเซอร์ไพรส์ ด้วยการนำเข้า Audi e-tron รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นล่าสุดที่เพิ่มเปิดตัวไปอย่างเป็นทางการมาเมื่อไม่นานนี้ เอาเข้ามาให้ชาวไทยสามารถสั่งซื้อกันได้ โดยรุ่นที่นำเข้ามาครั้งนี้ จะเป็น Audi e-tron 55 quattro ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าติดตั้ง 2 ตำแหน่งที่ด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งส่งกำลังไปยังล้อโดยตรง โดยมอเตอร์ไฟฟ้าทั้ง 2 ตัว ให้กำลังสูงสุด 360 แรงม้า แรงบิด 561 นิวตันเมตร และเพิ่มขึ้นเป็น 408 แรงม้า แรงบิด 664 นิวตันเมตร ทำให้มั่นใจในสมรรถนะที่จะตอบสนองการใช้งาน และเติมอารมณ์สปอร์ตได้อย่างเต็มที่ พร้อมความจุแบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงสูงแบบ ลิเธียมไออน 95 kWh ด้วยอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม.ในเวลา 6.6 วินาที และ 5.7 วินาทีในบูสต์โหมด และทำความเร็วสูงสุดได้ 200 กม./ชม.นอกจากเรื่องของสมรรถนะแล้ว จุดเด่นของ e-tron ก็คือ ความสามารถในการใช้งาน โดยการชาร์จไฟ 1 ครั้ง เดินทางได้ถึง 417 กม. มาพร้อมราคาจำหน่ายเพียง 5,099,000 บาทพร้อมรับการดูแลจาก Audi Protection การรับประกันรถใหม่ 5 ปี หรือระยะทาง 150,000 กิโลเมตร และบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน Roadside Assistance ทั่วประเทศ 24 ชั่วโมงนาน 5 ปี และสำหรับลูกค้า รับประกันแบตเตอรี่ 8 ปี หรือ 160,000 กม.

รถยนต์ไฟฟ้า

 

5. Jaguar I-PACE
อีกค่ายที่นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าตัวแรงในรูปแบบ suv อย่าง Jaguar I-PACE ถูกนำเข้ามาโดยอินช์เคป (ประเทศไทย) ผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของรถยนต์จากัวร์ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าคู่ (2 ตัวแยกด้านหน้ากับด้านหลัง)พร้อมขนาดแบตเตอรี่ Lithium-ion ชนิด Pouch cells ที่มีน้ำหนักเบาและใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย มีความจุ 90kWh ให้กำลังรวม 400 แรงม้า แรงบิด 696 นิวตันเมตร วิ่งได้ไกลสูงสุด 470 กิโลเมตร/การชาร์จ 1 ครั้ง ทำความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง และเร่งความเร็ว 0-100 ได้ใน 4.8 วินาที พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ AWD สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่จาก 0-80 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาเพียง 20-40 นาที ผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง DC (Quick charge) หรือ ภายในเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง ด้วยเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Home wall box) ราคาตกอยู่ที่ 5,499,000-6,999,000 บาท

รถยนต์ไฟฟ้า

 

6. BYD E6
รถยนต์ไฟฟ้าจากแดนมังกรกับ BYD E6 นำเข้ามาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยบริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด ที่เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่าง บริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด บริษัทตัวแทนจำหน่ายจักรยานยนต์แบรนด์ดัง Ducati และ Royal Enfield บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อความบันเทิง AJ ตัวรถใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้กำลังสูงสุดที่ 121 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 450 นิวตันเมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 140 กม./ชม. ตัวแบตเตอรี่เป็นแบบ Iron-Phosphate หรือ Fe Battery ที่สามารถเก็บไฟได้ 80 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ BYD E6 สามารถวิ่งได้ไกลสูงสุดประมาณ 300 กิโลเมตร/การชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลาในการชาร์จแบบ VTOG 40kW ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง และแบบปกติที่ประมาณ 8-9 ชั่วโมง ปกติแล้วเราอาจจะเห็น BYD E6 ได้ในภาพลักษณ์ของการเป็น Taxi VIP ที่วิ่งตามสนามบินสุวรรณภูมิ แต่ทางผู้นำเข้า ก็เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่สนใจอยากเป็นเจ้าของ สามารถสั่งซื้อได้ในราคา 1.89 ล้านบาท

รถยนต์ไฟฟ้า

 

7. Hyundai Ioniq Electric
รถไฟฟ้าจากแดนกิมจิ Hyundai Ioniq Electric ที่ถูกขายมานานแต่ไม่ค่อยจะเห็นบนถนนด้วย การทำตลาดที่ไม่ค่อยจริงจังจึงทำให้ผู้บริโภคไม่ค่อยได้รับรู้เท่าไหร่ Hyundai Ioniq Electric ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูงสุด 120 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 295 นิวตัน-เมตร พร้อมแบตเตอรี่ Lithium-Ion Polymer (LiPo) ความจุ 28 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ให้อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ในเวลา 9.9 วินาที (โหมด Sport) และ 10.2 วินาที (โหมดปกติ) ทำความเร็วสูงสุดได้ 165 กม./ชม. สามารถเคลื่อนที่ได้เป็นระยะทาง 280 กม. ต่อการชาร์จเต็มแต่ละครั้งตามมาตรฐาน NEDC ราคาอย่างเป็นทางการ 1,749,000 บาท

รถยนต์ไฟฟ้า

 

8. Kia Soul EV
รถไฟฟ้าอีกหนึ่งคันจากแดนกิมจิ Kia Soul EV เปิดตัวในไทยก่อนใคร แต่ด้วยราคาแรงจัดกว่าคู่แข่ง ซึ่่งเป็นรถสไตล์ครอสโอเวอร์ทรง กล่อง 5 ที่นั่ง อาจจะไม่ค่อยคุ้นหน้าคุ้นตาเท่าไรนัก เพราะ Kia Soul รุ่นปกติมีวิ่งกันน้อยมาก มอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet AC Synchronous กำลังสูงสุด 204 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 395 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ Lithium-ion Polymer Battery (LIPO) ขนาด 64 kWh กำลังไฟฟ้า 7.2 kW แรงดันไฟฟ้า 356V เสียบปลั๊กชาร์จไฟ ระยะทางวิ่งสูงสุดที่ทำได้ 452 กิโลเมตร (มาตรฐาน WLTP) Top Speed ความเร็วสูงสุด 167 km/h อัตราเร่ง 0-100 km/h : 7.9 วินาที ราคาอย่างเป็นทางการ (นำเข้า CBU) Soul EV 2,387,000 บาท

รถยนต์ไฟฟ้า

9. Porsche Taycan
ปิดท้ายกับค่ายรถ sport อย่าง Porsche ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ไม่นาน กับรถไฟฟ้าคันแรกจากค่าย ในรุ่นปอร์เช่ ไทคานน์ เทอร์โบ เอส (Porsche Taycan Turbo S) พกพาพละกำลังสูงสุดกว่า 761 แรงม้า (560 กิโลวัตต์) เพิ่มพลังด้วยฟังก์ชัน overboost ทำงานร่วมกับระบบช่วยออกตัว Launch Control ตามด้วยปอร์เช่ ไทคานน์ เทอร์โบ (Porsche Taycan Turbo) พละกำลังสูงสุด 680 แรงม้า (500 กิโลวัตต์) สำหรับไทคานน์ เทอร์โบ เอส (Taycan Turbo S) ให้อัตราเร่งออกตัวจากจุดหยุดนิ่งไปยังระดับความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในระยะเวลาเพียง 2.8 วินาที ในขณะที่ไทคานน์ เทอร์โบ (Taycan Turbo) ทำได้ภายในระยะเวลา 3.2 วินาที พิสัยการเดินทางสูงสุดในรุ่น เทอร์โบ เอส (Taycan Turbo S) ทำได้สูงสุดที่ระยะทาง 412 กิโลเมตร และในรุ่น เทอร์โบ (Taycan Turbo) เดินทางได้สูงสุดด้วย ระยะทางกว่า 450 กิโลเมตร (ทดสอบตามมาตรฐาน WLTP) รถสปอร์ตพลังไฟฟ้าขับเคลื่อน 4 ล้อ all-wheel-drive ทั้ง 2 รุ่นสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) คือรถสปอร์ตจากสายการผลิตปกติรุ่นแรก ที่ได้รับการติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงขับเคลื่อนสูง 800 โวลต์ แทนที่ระบบทั่วไปซึ่งมีแรงขับเคลื่อนเพียง 400 โวลต์ ในรถไฟฟ้าคันอื่น และนี่คือข้อได้เปรียบหลักอันดับแรก ที่ผู้ขับขี่ ไทคานน์ (Taycan) จะได้รับเมื่อนำพารถคันนี้โลดแล่นไปบนท้องถนน ภายในระยะเวลาเพียง 5 นาที ระบบชาร์จพลังงานย้อนกลับ high-power charging network จะทำหน้าที่สะสมพลังงานให้แก่แบตเตอรี่ด้วยไฟฟ้า กระแสตรง direct current (DC) จนสามารถเดินทางได้เป็นระยะสูงสุดกว่า 100 กิโลเมตร (ทดสอบตามมาตรฐาน WLTP) ใช้ระยะเวลาเพียง 22.5 นาที ในการชาร์จพลังงานตั้งแต่ความจุแบตเตอรี่ 5 – 80 เปอร์เซ็นต์ SoC (state of charge) ภายใต้สภาพแวดล้อมปกติ และมี กำลังไฟฟ้าสูงสุด (peak) ที่ 270 กิโลวัตต์ ประสิทธิภาพความจุโดยรวมของแบตเตอรี่อยู่ที่ 93.4 กิโลวัตต์ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ขับขี่ปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) สามารถชาร์จพลังงานได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านไฟฟ้ากระแสสลับ alternating current (AC) ขนาด 11 กิโลวัตต์ ที่ใช้อยู่ในที่พักอาศัยทั่วไป แหล่งข่าวแจ้งมาว่าราคาเริ่มต้นที่ 6.99 ล้านบาท เรียกได้ว่าราคาหน้าสนใจมากกับยอดจองที่ต้องต่อแถวรับรถกันเลยทีเดียว

Visitors: 590,969