ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ความภาคภูมิใจของคนไทย

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ความภาคภูมิใจของคนไทย

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือที่เราเรียกติดปากว่าสนามบินสุวรรณภูมิ ถือได้ว่าเป็นสนามบินหลักๆของประเทศไทยที่ใช้รับส่งผู้โดยสารเครื่องบินตามที่ต่างๆเช่นเดียวกับสนามบินดอนเมือง ในแต่ละวันจะมีผู้โดยสารมาที่นี่เป็นหลายแสนหลายล้านคนจากทั่วโลก เป็นสนามบินที่ไม่เคยหลับไหลและให้บริการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง ด้วยความอลังการงานสร้างของสนามบินบวกกับสถิติโลกที่น่าสนใจของท่าอากาศยานแห่งนี้ เชื่อว่าต้องมีคนอยากรู้ประวัติความเป็นมาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมินี้อย่างแน่นอน ว่าที่มาที่ไปของความอลังการของท่าอากาศยานที่ไม่เคยหลับใหลนี้มีที่มายังไงบ้าง เราไปดูกันเลยดีกว่า ว่าที่มาของสนามบินนี้มีที่มายังไง และไปดูสถิติต่างๆที่น่าสนใจของสนามบินแห่งนี้ด้วย จะได้ดูว่าเป็นที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยอย่างไร

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ประวัติของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตนและทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553 จากข้อมูลการจัดอันดับล่าสุดของเว็บไซต์ "สมาร์ตทราเวลดอตคอม" ที่มีการสำรวจความเห็นของผู้เดินทางทั่วโลกเปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทยนั้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานยอดเยี่ยมอันดับที่ 4 ของโลก รองจากท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี และท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย

ชื่อของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ชื่อสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยใช้แทนชื่อเดิมคือ "หนองงูเห่า" พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 ตัวสะกดชื่อของสนามบินใน อักษรโรมัน คือ "Suvarnabhumi" ซึ่งเป็นการสะกดตามหลักการเทียบ อักษรไทย เป็นอักษรโรมันแบบภาษาบาลีและสันสกฤต


ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ประวัติความเป็นมาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ซื้อที่ดินหนองน้ำ 20,000 ไร่ บริเวณหนองงูเห่า จังหวัดสมุทรปราการในปี พ.ศ. 2516 สำหรับสร้างสนามบินใหม่

เวลาเกือบ 30 ปีต่อมา รัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เห็นว่า สนามบินมีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว และด้านอื่นของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงกำหนดให้ การก่อสร้าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องร่วมกันดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย จึงได้เร่งการก่อสร้างตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2545

สนามบินได้เปิดทดลองใช้ในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเซีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และ โอเรียนท์ไทย โดยมีจำนวนผู้โดยสาร 4,800 คน จาก 24 เที่ยวบิน โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางจากสนามบินดอนเมืองมายังสนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ ได้มีกิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงการแจกประกาศนียบัตรและบัตรโดยสารที่ระลึกแก่ผู้ร่วมเที่ยวบิน การนำผู้สนใจเยี่ยมชมบริเวณสนามบินโดยมัคคุเทศก์อาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกับการท่าอากาศยาน และรถโดยสาร ขสมก. ได้จัดเส้นทางพิเศษเพื่อเข้าชมสนามบินและสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง

นอกจากนี้รัฐบาลคาดว่าจะได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางอากาศ ภายใต้มาตรฐานนานาชาติที่ออกโดย องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และ สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เพื่อเปิดใช้ในทางพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 (เริ่มย้ายและให้บินขึ้นลงได้ตั้งแต่ 15 กันยายน) และกำหนดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันแรกของการทดลองบินของสายการบินจากต่างประเทศ ในการเริ่มการบินของสายการบินภายในประเทศวันแรก ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วง 1:00-6:10 น. ทำให้ประสบปัญหาในการเช็คอินของสายการบินในช่วงเวลานั้น

ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร คณะรัฐประหารตัดสินใจยึดกำหนดการเปิดสนามบินอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ตามเดิม

ในโอกาสเปิดสนามบิน ไปรษณีย์ไทยได้จัดทำแสตมป์ที่ระลึกจำนวน 18 ล้านดวง เป็นภาพอาคารผู้โดยสาร พร้อมเครื่องบิน และตราสัญลักษณ์บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ชนิดราคา 3 บาท พร้อมซองวันแรกจำหน่ายราคาซองละ 10 บาท จำหน่ายวันที่ 28 กันยายน เป็นวันแรก

การก่อสร้าง

ก่อสร้างโดยสถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์น ชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา แต่แบบอาคารในท่าอากาศยานเป็นจำนวนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนขนาด และวัสดุก่อสร้างจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย เป็นต้น

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

การทดสอบสนามบินและการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

สนามบินได้เปิดทดลองเต็มรูปแบบ และมีการขายตั๋วที่นั่งให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จาก 20 เที่ยวบินภายในประเทศโดยเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ภายในประเทศเที่ยวแรกคือ TG1881 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ภูเก็ต ส่วนเที่ยวบินทดสอบระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกเกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการส่งเครื่องบินไทย 2 ลำไปยังสิงคโปร์ และฮ่องกง ซึ่งเป็นการทดสอบทั้งความสามารถของท่าอากาศยานในการรองรับการจราจรทางอากาศที่แออัด และในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการบินนำผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอินชอนประเทศเกาหลีใต้ TG6561 นับเป็นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกของสุวรรณภูมิ ก่อนที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

 

สิ่งที่น่าสนใจในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

อาคารผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ม.² มี 9 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:
ชั้นใต้ดิน (B2) - ชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า (เปิดใช้สายละ 1 ชานชาลา)
ชั้นใต้ดิน (B1) - สถานีรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร ศูนย์การแพทย์ และสำนักงานตรวจสอบไฟฟ้าท่าอากาศยานไทยและศูนย์ควบคุมท่าอากาศยาน
ชั้น 2 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาเข้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ชั้น 3 - ห้องนั่งเล่น จุดนัดพบ ร้านค้า จุดตรวจ และเคาเตอร์ให้บริการ
ชั้น 4 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาออกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จุดตรวจควบคุมภาษีศุลกากร ศูนย์ราชการบางแห่ง บูทสายการบิน และเคาเตอร์ข้อมูลสนามบิน
ชั้น 5 - สำนักงานบริษัทการบินไทย และกลุ่มสายการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์
ชั้น 6 - สำนักงานสายการบิน
ชั้น 7 - ชั้นชมทัศนียภาพ

 

การจัดแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมไทย
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจในบรรยากาศประเทศไทย ด้วยการสะท้อนความงามของศิลปะและวัฒนธรรมไทย เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลองของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย รวมไปถึงรูปปั้นตำนานกวนเกษียรสมุทร ที่ชั้นขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น

 

งานภูมิทัศน์
งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบินและภายในส่วนเปิดโล่งของอาคารผู้โดยสารมีลักษณะของความเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์กเกอร์ ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน วอล์กเกอร์ระบุว่า ภูมิทัศน์ถนนภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ประกอบด้วยงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถสัมผัสได้แม้จากในรถที่กำลังแล่น

 

ส่วนภูมิทัศน์ภายในท่าอากาศยาน ได้ออกแบบให้เป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินขนาดใหญ่แบบ Monumental garden 2 สวน ขนาดพื้นที่ถึงแปลงละ 135×108 ตามแบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือ สวน "เมือง" และ สวน "ชนบท" โดยการออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดภูมิจักรวาลและอารยธรรมชาวน้ำ

 

ในเวลาต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณและสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต ใน พ.ศ. 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ โดยกลุ่มภูมิสถาปนิกและทีมที่ปรึกษาชาวไทย คือ RPU Design Group ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบระฟ้า ภูมิสถาปนิกที่ร่วมกำหนดแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังคงแนวคิดหลักของสวนเมืองและชนบทอยู่ แต่ได้ปรับแนวความคิดในขั้นรายละเอียดและเนื้อหาใหม่

 

"สวนเมือง" มีลักษณะเป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์และน้ำพุ ได้อาศัยคติความเชื่อของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ความเชื่อเรื่องระบบภูมิจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง เรื่องการเลือกทำเลในการตั้งเมืองใกล้น้ำ (อารยชนชาวน้ำ) การใช้เส้นสายที่ปรากฏในจิตรกรรมไทย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง

 

ส่วน "สวนชนบท" มีการประดับโดยใช้หญ้าท้องถิ่นและต้นไม้ตัดแต่งรูปฝูงช้าง ได้ใช้ลักษณะภูมิประเทศของไทย ซึ่งประกอบด้วยภูเขา แม่น้ำลำคลองและทุ่งราบ มีภูเขาทองเป็นประธาน ในส่วนประติมากรรมได้ใช้ฝูงนกเป็นกลุ่มๆ ที่สามารถไหวได้ตามแรงลม โดยทั้งสองสวนจะสื่อถึงความเป็นไทย และมีรูปแบบทันสมัยเพื่อให้กลมกลืนกับรูปแบบอาคารสนามบินได้โดยไม่ดูล้าสมัย มีความยืดหยุ่นรองรับการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารได้ และการออกแบบองค์ประกอบและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ได้คำนึงถึงเรื่องการควบคุมจำนวนนกภายในสนามบินด้วย

 

โรงแรมที่พักใกล้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ เป็นโรงแรมหลักแห่งเดียวของสนามบินที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักมากกว่า 600 ห้อง และมีทางเชื่อมใต้ดินสู่อาคารผู้โดยสาร โดยโรงแรมแห่งนี้ได้รับการบันทึกสถิติว่ามีพื้นที่ต้อนรับของโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย นอกจากนี้โดยรอบสนามบินก็ยังมีโรงแรมอีกมากมายที่เลือกได้ตั้งแต่ 1-5 ดาว

 

สถิติแห่งความเป็นที่สุด
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ" และยังเป็นที่กล่าวขวัญถึง "ความเป็นที่สุด" ในหลายๆ ด้าน ดังต่อไปนี้
-หอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร พร้อมระบบการนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย
-โรงซ่อมเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดพื้นที่จอดเครื่องบินรวม 27,000 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินขนาดยักษ์แอร์บัส 380 ได้พร้อมกัน 3 ลำ โรงซ่อมเป็นอาคารสูง 35 เมตร กว้าง 90 เมตร ยาว 270 เมตร โดยไม่มีเสากีดขวาง โครงหลังคาใช้วัสดุเหล็กที่มีลักษณะเป็นซูเปอร์สตรักเจอร์ที่ใช้คานเหล็ก มีน้ำหนักรวม 10,000 ตัน ใช้เงินลงทุนก่อสร้างกว่า 1,200 ล้านบาท
-ล็อบบี้ของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง เป็นบริเวณล็อบบี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
-เป็นสนามบินที่ทำสถิติใช้ระยะเวลาการก่อสร้างยาวนานที่สุด ถึง 45 ปี
-อาคารผู้โดยสาร เป็นอาคารผู้โดยสารเดี่ยว (มิใช่กลุ่มอาคาร) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในการก่อสร้างครั้งเดียว โดยมีพื้นที่ใช้สอยถึงประมาณ 563,000 ตร.ม. ซึ่งต่อมาทางสนามบินนานาชาติฮ่องกงได้ต่อเติมอาคารผู้โดยสารที่ 1 ออกไป จนมีขนาด 570,000 ตร.ม. ใหญ่กว่าของสุวรรณภูมิ
-สนามบินที่ใหญ่ที่สุด ทันสมัยที่สุดในโลก
-ภายในอาคารเทียบเครื่องบิน ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก
-ระบบการบริหารจัดการท่าอากาศยานทุกกิจกรรม ที่ใช้ระบบไอทีติดอันดับโลก โดยถูกเชื่อมโยงด้วยระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่เรียกว่า AIM (Airport Information Management System)
-อัตราค่าธรรมเนียม หรือ landing fee ที่ต่ำที่สุด เทียบกับสนามบินทั้งหมดในแถบภูมิภาคเดียวกัน
-โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ เป็นโรงแรมหลักแห่งเดียวของสนามบินที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักมากกว่า 600 ห้อง และมีทางเชื่อมใต้ดินสู่อาคารผู้โดยสาร โดยโรงแรมแห่งนี้ได้รับการบันทึกสถิติว่ามีพื้นที่ต้อนรับของโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แล้วนี่ก็คือเรื่องราวชวนให้ภาคภูมิใจของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแห่งนี้ หากใครต้องการรถที่จะรับส่งสนามบินสุวรรณภูมิ หรือเช่ารถจากสนามบินไป อย่าลืม Ecocar สาขาสุวรรณภูมิ กับบริการรถเช่ารับส่งสนามบินสุวรรณภูมิด้วยนะ

Visitors: 590,982